

คู่มือฐานเงินเดือนประจำปี 2021 จัดทำโดย Adecco Group Thailand
ดาวน์โหลดรูปเล่มที่ https://adecco.co.th//en/knowledge-center/detail/download-salary-guide-2021
Discover 2021 Salary Guide! Get the overview of salary rate and hiring trends in Thailand based on recruitment statistics throughout the previous year.
สมาร์ทเลเบอร์ (SMART LABOUR) แอปพลิเคชั่นบริการด้านแรงงานทุกที่ ทุกเวลา ตอบสนองคนทำงานยุคดิจิทัล
“Smart Labour 3” ผ่าน Google Play ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) และผ่าน App Store ของระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) และผ่านศูนย์กลางแอพพลิเคชันภาครัฐ (Government Application Center: GAC) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยแอพพลิเคชันมีบริการ ดังนี้
เอกสารดาวน์โหลดสำหรับเผยแพร่ “Smart Labour 3”
รวมวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษและวันหยุดราชการประจำภูมิภาคที่อนุมัติในครั้ง 24 วัน
ครม. มีมติขยายเวลาการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภ.ง.ด. 90/91 ทั้งการยื่นภาษีแบบออนไลน์ และการยื่นภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ออกไปอีก 3 เดือน เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียภาษี โดยขณะนี้ผู้ที่ต้องการขอคืนภาษีสามารถยื่นแบบ ฯ ได้แล้ว “ยิ่งยื่นภาษีเร็ว ก็ได้ภาษีคืนเร็ว” รวมถึงได้ออกมาตรการดูแลภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาและปัจจัยด้านต่าง ๆ อีกด้วย
สำนักงานประกันสังคมขอแนะนำให้ผู้ประกันตนพกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไว้ หากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุ หรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ทันที โดยสำนักงานประกันสังคม จะพิจารณาจ่ายประโยชน์ทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ให้ภายใน 72 ชั่วโมง ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ ให้ผู้ประกันตน หรือโรงพยาบาลที่ให้การรักษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ ทราบโดยเร็ว ตั้งแต่เข้ารับการรักษาเพื่อให้โรงพยาบาล รับผิดชอบให้บริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประกันตนต่อไป
การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ที่มีนโยบายให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว และเป็นธรรมตามสิทธิของผู้ป่วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) รวมทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ได้ร่วมบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุนทั้งระบบกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” หรือ UNIVERSAL COVERAGE FOR EMERGENCY PATIENTS (UCEP) ด้วยระบบการรักษากรณีผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตสูง โดยผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน โดยไม่ถูกทวงถามสิทธิก่อนรักษา ไม่ต้องสำรองค่ารักษา ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลา ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในระบบบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคมว่าทุกคนจะได้รับการบริการสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างรวดเร็ว มีคุณภาพเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคม ยังคงมีการพัฒนาระบบการบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกันตน ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษา และพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ (๓) และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
ราชกิจจาฯ ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำใหม่ คลิกที่นี่
ข้อ 6 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยยี่สิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
มติชนออนไลน์ สรุปเนื้อหาสาระสำคัญ ของพ.ร.บ.ดังกล่าว จะให้สิทธิประโยชน์ลูกจ้าง 7 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ
ประเด็นที่ 1 ลากิจธุระจำเป็นได้ค่าจ้าง 3 วันทำงานต่อปี
ประเด็นที่ 2 ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน
ประเด็นที่ 3 กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม ก็สามารถรับค่าชดเชยพิเศษตามกฎหมายฉบับนี้ โดยหากทำงานมาครบ 20 ปีก็ได้รับ 400 วัน
ประเด็นที่ 4 ได้รับค่าชดเชยใหม่กรณีเลิกจ้างจะเพิ่มเป็น 6 อัตราจาก 5 อัตรา คือ อัตราที่ 1 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าขดเชย 30 วัน อัตราที่ 2 ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน อัตราที่ 3 ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน อัตราที่ 5 ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน และอัตราที่ 6 ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินชดเชย 400 วัน
ประเด็นที่ 5 กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อี่น หากลูกจ้างไม่ตามไปก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และได้สิทธิชดเชยตาม 6 อัตรา ซึ่งกฎหมายเก่าไม่ได้เลย เราต้องตามไป แต่ของใหม่ให้สิทธิเราเลือกได้
ประเด็นที่ 6 กรณีค่าตอบแทน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน จะเป็นในบางอาชีพ อย่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) คนขับรถส่งของ ก็เป็นงานที่ไม่มีค่าล่วงเวลา แต่จะได้ค่าตอบแทนเป็นหลัก หากเกินเวลาปกติ โดยของเดิมดอกเบี้ยให้ร้อยละ 7.5 ต่อปีกรณีลูกจ้างไปฟ้องขอ แต่กฎหมายใหม่ให้ได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
และประเด็นที่ 7 ให้สิทธิเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย โดยลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องค่าจ้าง ค่าตอบแทน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่กำหนด แต่ของใหม่เราเพิ่มตรงนี้ว่า ลูกจ้างชายหญิงมีงานเท่าเทียมกันต้องได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน ซึ่งตรงนี้สอดคล้องกับอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 100
ทั้งนี้ พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
แหล่งข้อมูล ประชาไท
กระทรวงแรงงาน เผยที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 ก.ย.61 ณ ตึกรัฐสภา มีมติเป็นเอกฉันท์ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … พร้อมตั้งกรรมธิการพิจารณาร่างให้เสร็จภายใน 30 วัน
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลานานทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้าง จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้การเปลี่ยนแปลง ตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้โดยถือเป็นวันลาเพื่อคลอดบุตร เพิ่มอัตราค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป กำหนดให้การย้ายสถานประกอบกิจการรวมทั้งการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือสถานที่อื่นของนายจ้าง และแก้ไขให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราเท่ากันทั้งลูกจ้างชาย และหญิงในงานที่มีค่าเท่าเทียมกันเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล