post

ผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้ารพ.ใกล้ที่เกิดเหตุได้ทันที

สำนักงานประกันสังคมขอแนะนำให้ผู้ประกันตนพกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไว้ หากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุ หรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ทันที โดยสำนักงานประกันสังคม จะพิจารณาจ่ายประโยชน์ทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ให้ภายใน 72 ชั่วโมง ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ ให้ผู้ประกันตน หรือโรงพยาบาลที่ให้การรักษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ ทราบโดยเร็ว ตั้งแต่เข้ารับการรักษาเพื่อให้โรงพยาบาล รับผิดชอบให้บริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประกันตนต่อไป

การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ที่มีนโยบายให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว และเป็นธรรมตามสิทธิของผู้ป่วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) รวมทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ได้ร่วมบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุนทั้งระบบกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” หรือ UNIVERSAL COVERAGE FOR EMERGENCY PATIENTS (UCEP) ด้วยระบบการรักษากรณีผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตสูง โดยผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน โดยไม่ถูกทวงถามสิทธิก่อนรักษา ไม่ต้องสำรองค่ารักษา ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลา ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในระบบบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคมว่าทุกคนจะได้รับการบริการสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างรวดเร็ว มีคุณภาพเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคม ยังคงมีการพัฒนาระบบการบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกันตน ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

post

ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 63

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษา และพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ (๓) และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑

ราชกิจจาฯ ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำใหม่ คลิกที่นี่

ข้อ 6 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยยี่สิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี