รวมภาพกิจกรรม
Module 4 Salary & Payroll
มองโลกใหม่ ให้ไกลไปกว่างาน Payroll ทำ OT
รู้จักเข้าใจสวัสดิการใหม่ สไตล์ Non Cash
ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562

HR School โดยอาจารย์ออมทรัพย์ บุตรแก้ว ร่วมกับกลุ่มบริหารงานบุคคลโรจนะ นำเสนอโปรแกรมทอง หลักสูตรเปลี่ยน HR มือใหม่ให้ทำงานได้อย่างมืออาชีพ (ง่าย ๆ ไม่ยาก ไม่เยอะ) ด้วยเนื้อหาที่เหมาะสมกับปัจจุบันสอนเน้นให้เครื่องมือไปทำงานเลย ด้วยประสบการณ์จริง ตรง ลีลาสนุกสนาน เร้าใจ ไม่ง่วง รับประกัน… ความไม่เยอะ ทุกเรื่องเข้าใจใช้ทำงานได้ใน 3 ชั่วโมง
หลักสูตรต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562
สอบถามเพิ่มเติม โทร 035 226432 ต่อ 220 หรือสอบถามในไลน์กลุ่มโรจนะ
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
มติชนออนไลน์ สรุปเนื้อหาสาระสำคัญ ของพ.ร.บ.ดังกล่าว จะให้สิทธิประโยชน์ลูกจ้าง 7 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ
ประเด็นที่ 1 ลากิจธุระจำเป็นได้ค่าจ้าง 3 วันทำงานต่อปี
ประเด็นที่ 2 ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน
ประเด็นที่ 3 กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม ก็สามารถรับค่าชดเชยพิเศษตามกฎหมายฉบับนี้ โดยหากทำงานมาครบ 20 ปีก็ได้รับ 400 วัน
ประเด็นที่ 4 ได้รับค่าชดเชยใหม่กรณีเลิกจ้างจะเพิ่มเป็น 6 อัตราจาก 5 อัตรา คือ อัตราที่ 1 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าขดเชย 30 วัน อัตราที่ 2 ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน อัตราที่ 3 ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน อัตราที่ 5 ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน และอัตราที่ 6 ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินชดเชย 400 วัน
ประเด็นที่ 5 กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อี่น หากลูกจ้างไม่ตามไปก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และได้สิทธิชดเชยตาม 6 อัตรา ซึ่งกฎหมายเก่าไม่ได้เลย เราต้องตามไป แต่ของใหม่ให้สิทธิเราเลือกได้
ประเด็นที่ 6 กรณีค่าตอบแทน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน จะเป็นในบางอาชีพ อย่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) คนขับรถส่งของ ก็เป็นงานที่ไม่มีค่าล่วงเวลา แต่จะได้ค่าตอบแทนเป็นหลัก หากเกินเวลาปกติ โดยของเดิมดอกเบี้ยให้ร้อยละ 7.5 ต่อปีกรณีลูกจ้างไปฟ้องขอ แต่กฎหมายใหม่ให้ได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
และประเด็นที่ 7 ให้สิทธิเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย โดยลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องค่าจ้าง ค่าตอบแทน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่กำหนด แต่ของใหม่เราเพิ่มตรงนี้ว่า ลูกจ้างชายหญิงมีงานเท่าเทียมกันต้องได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน ซึ่งตรงนี้สอดคล้องกับอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 100
ทั้งนี้ พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
แหล่งข้อมูล ประชาไท